Download: State of Influence in Asia 2021 report now
ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตในเรื่องการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ หรือ Influencer Marketing สูงสุดในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ จากจำนวนประชากรที่มีการเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ตและมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ดีขึ้น ทำให้มีความประชากรมีความพร้อมที่เข้าสู่แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียอย่าง Facebook, LINE, และ Instagram ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น จนทำให้ประชากรบนโลกดิจิตอลเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ด้วยอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่การทำการตลาดส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ช่องทางดิจิตอลมากขึ้นตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา อ้างอิงจากรายงานของ Digital Advertising Association of Thailand (DAAT).
ในปี 2563 สถิติจาก We Are Social and Hootsuiteแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตถึง 75% ของประชากรทั้งหมด หรือ 52 ล้านคนในเดือนมกราคม 2563 ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ตรงกันกับจำนวนผู้มีบัญชีการใช้งานโซเซียลมีเดียในประเทศไทย (52 ล้านบัญชีเช่นกัน) และในรายงานสถิติอันเดียวกันยังเน้นอีกว่า ผู้ใช้โซเซียลมีเดียมีเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคน หรือ อัตราการเติบโต 4.7% ในช่วงเดือนเมษายน 2562 ถึงมกราคม 2563 ที่ผ่านมา
ไม่ใช่เพียงเท่านั้น อัตราการใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันคือ 9 ชั่วโมง โดยสามารถแบ่งเป็นการใช้งานโซเซียลมีเดียเฉลี่ยได้ 3 ชั่วโมง หรือ คืออัตราส่วนที่ 12.5% ต่อวัน ไม่มีการพักเลยทีเดียว!
สถิติเหล่านี้อาจจะดูน่าเหลือเชื่อ แต่ถ้าเราถามต่อว่า พวกเขาใช้อินเตอร์เน็ตตั้ง 9 ชั่วโมงไปกับอะไรมากที่สุดละ?
คงต้องยกให้ Facebook และ Youtube ที่จับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนอย่างอยู่หมัด เพราะกว่า 94% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับ 2 โซเซียลมีเดียนี้มากที่สุด ในขณะที่ Instagram, Twitter และ Tik Tok เป็นแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียที่อัตราการเติบโตเร็วที่สุดและเข้าเป็น Top 5 อันดับของโซเซียลมีเดียที่คนใช้เยอะที่สุดในประเทศไทย
“แล้วสถานการณ์ของการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์เป็นอย่างไรบ้าง?” จากข้อมูลบนแพลตฟอร์ม AnyTag (formerly known as CastingAsia) อินฟลูเอนเซอร์มีช่องทางเด่นสุดเยอะสุดบน YouTube ตามมาด้วย Facebook และ Instagram ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมาอินฟลูเอนเซอร์gเพิ่มขึ้นอย่างมากในแพลตฟอร์ม Tik Tok
อีกทั้งในปีที่ผ่านมา ดาราหรือเซเลบบริตี้ และเหล่าคนโปรไฟล์ดังๆ ในโลกออนไลน์ต่างเริ่มผันตัวมาทำคอนเทนในโซเซียลมีเดียมากขึ้นอย่างมาก เพื่อเป็นอีกช่องทางในการพูดคุยและสร้างฐานแฟนๆ ของพวกเขา ผ่านการใช้ช่องทางโซเซียลมีเดีย (และก็ประสบความสำเร็จกันอย่างมากอีกด้วย) แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มี Nano และ Micro อินฟลูเอนเซอร์ (อินฟลูเอนเซฮร์ที่มีผู้ติดตามเริ่มตั้งแต่หลักพันถึงหมื่น) เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ตามอัตราการเติบโตของโซเซียลมีเดียนั้นเอง
แล้วใครบ้างที่เลือกใช้การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) ในประเทศไทย? หากจะมองว่าสินค้าหรือธุรกิจประเภทไหนบ้างที่ใช้การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์อย่างลึกซึ้งที่สุดและถือเป็นแถวหน้าของเมืองไทย คงหนีไม่พ้นสินค้าและธุรกิจประเภท FMCG หรือ สินค้าอุปโภคบริโภค, ความสวยความงาม, e-commerce ซื้อขายออนไลน์, ยานยนต์, เกมส์มิ่ง, แกดเจ็ต Gadget, ห้างร้านต่างๆ และ การเงินต่างๆ ซึ่งก็ตรงกับรายงานของ DAAT เรื่อง “2019 Top Industry Spending” หรือประเภทธุรกิจที่ใช้งบประมาณในการตลาดดิจิตอลมากที่สุดเช่นกัน
คอนเทนของอินฟลูเอนเซอร์ที่ผลิตให้กับสินค้าและธุรกิจประเภท FMCG หรือ สินค้าอุปโภคบริโภค, ความสวยความงาม, เกมส์มิ่ง และ ยานยนต์ ได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement มากที่สุด สอดคล้องกับเทรนด์การชอบแชร์ต่อ และบันทึกโพสเก็บไว้อ่านทีหลัง
สำหรับการทำการตลาดแบบ Full Funnel ขั้นตอนการตลาดเริ่มแรกในส่วนของ Clicks (คลิก) และ Conversions (คอนเวอร์ชั่น; จำนวนยอดขายหรือการเปลี่ยนจากคนจะซื้อมาเป็นลูกค้าจริงของเรา) เทรนด์นี้ในตลาดไทยเหมือนกับตลาดญี่ปุ่นและอินโดนีเชีย ที่จำนวนผู้ติดตาม Followers หรือ จำนวนการมีส่วนร่วม Engagement ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันกับจำนวนคลิกและคอนเวอร์ชั่น แต่กลับไปสัมพันธ์กันกับจำนวนการแชร์แทน เมื่อมีจำนวนการแชร์สูงก็มียอดจำนวนการคลิกที่สูงขึ้นเช่นกัน อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดจำนวนการคลิกสูงขึ้นมาจากพฤติกรรมการโพสของตัวอินฟลูเอนเซอร์ อินฟลูเอนเซอร์ที่ที่โพสคอนเทนประเภทเดียวกันบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอมียอดจำนวนการคลิกที่สูงกว่าตามไปด้วย
อีกส่วนสำคัญในการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์คือการเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของตัวอินฟลูเอนเซอร์เองและข้อมูลของผู้ติดตามโซเซียลมีเดียของอินฟลูเอนเซอร์นั้นๆ โดยวิเคราะห์ไปถึงเนื้อหาคอนเทนที่อินฟลูเอนเซอร์นั้นแชร์กับผู้ติดตามของตน เพื่อให้แนวทางการทำคอนเทนในการทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของเราสอดคล้องกับเนื้อหาที่ผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นๆ สนใจ และไม่ทำให้พวกเขาเลื่อนผ่านคอนเทนแบรนด์ของเราไป
อินฟลูเอนเซอร์และเทรนด์การใช้อินฟลูเอนเซอร์ เราจะมาเจาะลึกข้อมูลจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ในเครือของ AnyTag กันหน่อย อินฟลูเอนเซอร์ในหมวดไหนที่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้บ่อยที่สุดในประเทศไทย เราเรียงลำดับได้ ดังนี้ อันดับแรกยกให้ Arts & Entertainment หรือ หมวดบันเทิง ตามมาด้วย Fashion & Lifestyle หรือ แฟชั้นและไลฟ์สไตล์ (ใช้ชีวิตทั่วไป) และก็เข้าสู่ Top 5 แบบไม่หนีกันเลย คือ Beauty ความสวยความงาม, Travel ท่องเที่ยว และ Food อาหาร ทั้งกินและทำนั้นเอง
หากดูความสัมพันธ์ของจำนวนผู้ติดตามและอัตราการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามโซเซียลมีเดียแพลตฟอร์มในประเทศไทย เราจะพบว่า instagram จะมีอินฟลูเอนเซอร์อยู่ 2 กลุ่มที่น่าใช้ คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามอยู่ระหว่าง 1,000 – 30,000 กับ 100,000 – 150,000 คน ในขณะที่ Facebook กลับเป็นอีกขั้วไปเลย คือกลุ่มที่น่าใช้จะมีผู้ติดตามอยู่ที่ 5,000 – 15,000
เคล็ดไม่ลับจากทีมการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ประเทศไทย การใช้อินฟลูเอนเซอร์ทำการตลาดส่วนใหญ่จะทำเพื่อการตลาดในส่วนของการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่ร่วมเป็นส่วนใหญ่ หรือ ด้านบนของ Marketing Funnel ดังนั้น การใช้โซเซียลมีเดียที่ง่ายกับทุกแบรนด์และ ใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อสร้างสรรค์คอนเทน ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายเพราะรู้สึกเข้าถึงได้มากกว่าแบรนด์ทำโฆษณาที่พวกเขาอาจจะเลื่อนผ่านไปเฉยๆ จึงเป็นการตลาดทางใหม่ที่น่าจับตามอง
ในเมื่อตอนนี้การสร้างคอนเทนก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะมือถือที่ถ่ายวีดีโอ 4K ได้ หรือเครื่องมือถ่ายทำที่มีราคาถูกลง ทำให้จำนวนอินฟลูเอนเซอร์หรือผู้สร้างคอนเทน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเมืองไทยและทั่วโลก เทรนด์นี้คงไม่หยุดลงง่ายๆ แน่ๆ และอินฟลูเอนเซอร์จะยังแข่งกันทำคอนเทนที่ฉีก โดนเด่น และสร้างสรรค์กันไปเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ติดตามและการมีส่วนร่วมให้กับโซเซียลมีเดียของตนต่อไป จึงกลายเป็นโอกาสของทุกแบรนด์ที่จะเลือกใช้พวกเขาในการทำการตลาด
แต่ในอีกมุมเราก็อาจจะมองว่า ถ้ามีคนสร้างคอนเทนกันเยอะแยะมากมายขนาดนี้ คอนเทนก็ต้องล้นโซเซียลมีเดียจนจะไม่น่าจะมีใครดูทันนะสิ ดังนั้น การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ทมี่จะมาสร้างคอนเทนให้เรานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
เมื่อนักการตลาดเลือกโซเซียลมีเดียที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของตนเพื่อทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ได้แล้ว ก็ต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตามหมวดหมู่ของอินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกเข้ามาร่วมในแคมเปญด้วย เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามหมวดหมู่ที่เลือกมา
ทั้งนี้ อินฟลูเอนฌซอร์ก็มีการแบ่งระดับตามชาร์ตด้านล่างนี้ โดยแบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน จำนวนผู้ติดตาม ประเภทกลุ่มและอิทธิผลที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายตามขั้นตอนการตลาด (Marketing Funnel) เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแคมเปยที่จะจัดทำ
Top Stars หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่าล้าน ช่วยกระจายการรับรู้ได้ดี และสร้างการจดจำแบรดน์ให้ได้
Macro-influencers ในประเทศไทย คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 ถึงล้านคน แต่เน้นที่การสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) และยอดการรับชม (views) เป็นหลัก
Micro-influencersในประเทศไทย คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 ถึง 100,000 และช่วยสร้างยอดคลิกและคอนเวอร์ชั่นได้ดี
ปิดท้ายปิรามิดนี้ด้วย nano-influencersหรือ อินฟลูเอนฌวอร์ที่มีคนติดตามน้อยกว่า 10,000 หรือเป็นผู้ใช้จริงนั้นเอง โดยกลยุทธ์การใช้อินฟลูเอนฌซอร์กลุ่มนี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เข้าถึงตัวแบรนด์ และแสดงถึงความจงรักภัคดีต่อแบรนด์หรือ Loyalty ต่อผู้ติดตามของกลุ่มนี้ได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
MarketingOopsสื่อที่นำเสนอแนวทางการตลาดออนไลน์เอง ก็มีการเน้นความสำคัญของการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์แต่ละประเภทเอาไว้เช่นกันว่า
ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด (Key Opinion Leader): คือกลุ่มที่มีพลังการสื่อสารในกลุ่มเฉพาะเจาะจงและรู้จริงในเรื่องนั้นๆ เช่น กลุ่มแพทย์ผิวหนัง, ยานยนต์, สุขภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย
ไอคอน (Icon): คือกลุ่มที่มีฐานแฟนเหนียวแน่น กลุ่มคนที่จะซื้อตามอาจจะเพราะอยากสนับสนุนคนที่เราชอบ หรือบางคนเห็นแล้วอยากจะเป็นแบบไอคอนคนนี้บ้าง เช่นกลุ่มดาราวัยรุ่นยุคใหม่ เป็นต้น
Tribe Leader: คือกลุ่มคนที่มีพลังในการชักจูงคนในสังคมของตนเอง เปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าทีมที่คนพร้อมจะเชื่อและคล้อยตาม เช่น Beauty Blogger หรือ Travel Blogger ต่างๆ
Social Peer: คือกลุ่มคนที่เป็นตัวเชื่อมสังคมรอบตัวเราที่มีระดับเดียวกับเรา กลุ่มนี้จะสามารถสร้าง Social Norm และ Word-of-mouth ได้สูง ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มในทวิตเตอร์ที่ไม่ว่าจะยอดผู้ติดตามเท่าไร แต่คนพร้อมจะซื้อตามถ้าหากมีคนพูดถึงแล้วสินค้าดีจริงๆ
ดังนั้นการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ในอนาคตจะไม่ได้ชี้วัดกันที่ตัวเลขอย่างเดียว แต่จะส่งผลไปถึงว่าใครที่จะวิเคราะห์ข้อมูลได้ลึกและแม่นยำมากกว่ากัน
ให้ AnyMind Group ประเทศไทยดูแลการตลาดให้คุณ นอกเหนือจากที่ AnyMind Group จะให้บริการกลยุทธ์และโซลูชั่นเพื่อการทำโฆษณาในโลกดิจิตอลด้วยเทคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นเอง ผ่านบริษัทในเครืออย่าง AnyDigital, VGI AnyMind และ POKKT Mobile Ads เรายังพัฒนาต่อยอดธุรกิจของเราเพื่อรองรับการทำตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับนักการตลาดทุกท่านอีกด้วย
โดยเริ่มจากเดือนมีนาคม 2562 ที่เราได้ควบรวมบริษัทMoindy Digitalจำกัด เพื่อร่วมสร้างธุรกิจ AnyCreator (Formerly CastingAsia Creators Network) ที่นำเอาเหล่าผู้สร้างคอนเทน หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ทั้งดารา นักร้อง บนโซเซียลมีเดียในประเทศไทย ทำให้ฐานข้อมูลอินฟลูเอนฌซอร์ของเรายิ่งกว้างขวางมากขึ้น
ส่งผลให้แพลตฟอร์มAnyTag ที่เป็นโซลูชั่นเพื่อการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ตั้งแต่การค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงลึก การสร้างแคมเปญ การติดตามงานอินฟลูเอนเซอร์และตรวจสอบการสร้างคอนเทน รวบรวมรายงานผลลัพธ์จากทุกช่องทางโซเซียลมีเดียที่ใช้ในแคมเปญในที่เดียว ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
และเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานกับอินฟลูเอนเซอร์ ที่จะช่วยคุณวางกลยุทธ์ ประสานงาน และช่วยเหลือในการทำงานร่วมกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ให้งานออกมาราบลื่น ไม่ว่าบรีฟหรือเนื้องานจะยากแค่ไหนก็ตาม
Round-ups from other markets • Social media influencer marketing in Indonesia • Social media influencer marketing in Japan • Social media influencer marketing in Vietnam • Social media influencer marketing in the Philippines • Social media influencer marketing in Singapore • Social media influencer marketing in Hong Kong
Influencer verticals
Overview of influencer marketing in Thailand – Download here (Thai version)
Arts & Entertainment influencer report for Thailand – Download here
Fashion & Lifestyle influencer report for Thailand – Download here
Travel influencer report for Thailand – Download here
2021
State of Influence in Asia 2021 report – Download here
ต้องการรับคำปรึกษาด้าน Influencer Marketing หรือการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ หรือสนใจโซลูชั่น AnyTag และอยากทดลองใช้แพลตฟอร์มของเรา เพียงกรอกข้อมูลด้านล่าง แล้วผู้เชี่ยวชาญของเราจะติดต่อกลับคุณทันที