< script src="https://unpkg.com/@highlightjs/cdn-assets@11.0.0/highlight.min.js">

Press Release

Facebook Icon Twitter Icon Linkedin Icon

AnyMind Group

Facebook Icon Twitter Icon Linkedin Icon

AnyMind Group เผยรายงานการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ไทยปี 64: Instagram แซงหน้าทุกแพลตฟอร์ม มีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานมากที่สุดในแคมเปญการตลาดอินฟลูเอนเซอร์

ขณะที่ YouTube ครองแชมป์แพลตฟอร์มยอดนิยมอันดับหนึ่งของอินฟลูเอนเซอร์ไทยในแพลตฟอร์ม AnyTag

AnyMind Group ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจครบทุกขั้นตอน (End-to-end Commerce Enablement Platform) สำหรับแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ และนักการตลาด เผย รายงานภาพรวมการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) ของประเทศไทยปี 2564 ซึ่งเป็นรายงานเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ตั้งแต่ ประเภทคอนเทนต์ยอดนิยมของอินฟลูเอนเซอร์ไทย สัดส่วนของอินฟลูเอนเซอร์ในแต่ละแพลตฟอร์ม จำนวนแคมเปญการตลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละแพลตฟอร์ม ตลอดจนค่าเฉลี่ยความมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก AnyTag แพลตฟอร์มสำหรับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ และรายงาน State of Influence in Asia 2021 ของ AnyMind Group ที่ได้รวบรวมข้อมูลการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ทั่วเอเชีย

ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งประเทศในเอเชียที่มีการเติบโตของตลาดอินฟลูเอนเซอร์โดดเด่นที่สุด เนื่องจากปัจจุบันอินฟลูเอนเซอร์ถือเป็นอีกหนึ่งสื่อหลักที่แบรนด์นิยมใช้ในการประชาสัมพันธ์สู่ผู้บริโภค ดังนั้นในรายงานนี้จึงสรุปข้อมูลตัวเลขที่สำคัญในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้ในการวางแผนงานหรือตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจประกอบด้วย:

คอนเทนต์ 5 อันดับยอดนิยมของอินฟลูเอนเซอร์ไทย

เมื่อนำข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์กว่าสามหมื่นคนใน AnyTag มาแยกประเภทตามคอนเทนต์ พบว่า 5 อันดับแรกของคอนเทนต์ยอดนิยมอินฟลูเอนเซอร์ไทย คือ แฟชั่นและบิ้วตี้ ศิลปะและความบันเทิง(ไลฟ์สไตล์) อาหารและเครื่องดื่ม ท่องเที่ยว และเกม เรียงตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 มีการเปลี่ยนแปลงคอนเทนต์ประเภทท่องเที่ยวซึ่งเคยอยู่ในสามอันดับแรกกลับตกลงมาอยู่อันดับที่สี่แทน เนื่องมาจากข้อจำกัดด้านการเดินทางทั้งในและต่างประเทศของปีที่ผ่านมา โดยจำนวนคอนเทนต์แต่ละประเภทของอินฟลูเอนเซอร์นั้นอาจมีความเกี่ยวเนื่องกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันด้วย

ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

เนื่องจากคอนเทนต์แต่ละหมวดหมู่แปรผันต่างกันในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น บน YouTube มีอินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างคอนเทนต์ด้าน ศิลปะและความบันเทิง(ไลฟ์สไตล์) สูงที่สุดถึง 40.9% ขณะที่คอนเทนต์ด้านบิ้วตี้ซึ่งมีความนิยมสูงสุดในไทย กลับมีอัตราใช้งานโดยอินฟลูเอนเซอร์บน YouTube เพียง 18.03% เนื่องจากผู้บริโภคนิยมรับชมความบันเทิงในรูปแบบวีดิโอผ่าน YouTube มากกว่าหมวดหมู่อื่น ดังนั้นนักการตลาดจึงควรพิจารณาข้อมูลเพื่อทำการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

Instagram มีส่วนร่วมกับผู้ใช้งานมากที่สุดในแคมเปญการตลาดอินฟลูเอนเซอร์

ถึงแม้ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่อินฟลูเอนเซอร์ไทยนิยมใช้งานมากที่สุดในอัตราส่วนถึง 36.6% ในขณะที่ Instagram และ Facebook มีอัตราการใช้งานที่ไล่เลี่ยกันอยู่ที่ 28.9% และ 28.2% ตามลำดับ ขณะที่ Twitter มีอัตราการใช้งานอยู่เพียง 6.4%

แต่ในการทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์บนแต่ละแพลตฟอร์มนั้น พบว่า Instagram ได้รับผลตอบรับ (engagement) จากผู้ชมมากที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 4 โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหลัก ขณะที่ Facebook สามารถสร้างการรับรู้ (awareness) ในวงกว้างได้มากที่สุด ส่วน Twitter ที่ถึงแม้จะมีตัวเลขผู้ใช้งานน้อยแต่สามารถเข้าถึงผู้ชมเฉพาะกลุ่มและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานได้ดีที่สุด

จับตา Twitter สำหรับเทรนด์การตลาดรูปแบบใหม่ในอนาคต

ถึงแม้ว่า Twitter จะเป็นเป็นแพลตฟอร์มที่มีอัตราการใช้งานน้อยที่สุดของชาวไทย แต่กลับมีอัตราเติบโตสูงถึง 165.03% สำหรับการทำแคมเปญการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียเมื่อเทียบแบบปีต่อปี (สามารถดูรายละเอียดได้ในรายงาน State of Influence in Asia 2021) จึงถือเป็นอีกเทรนด์ที่กำลังมาแรงในเอเชียและได้ผลดีอย่างสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ในประเทศไทย

ในรายงาน ภาพรวมการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของประเทศไทย ปี 2564 นี้ได้ครอบคลุมเนื้อหาข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์กว่า 30,000 คน พร้อมข้อมูลแบบเจาะลึกจากแคมเปญการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ที่เกิดขึ้นในตลอดปีที่ผ่านมา จาก AnyTag แพลตฟอร์มด้านการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ศักยภาพสูงสำหรับนักการตลาด ที่เพิ่งคว้า รางวัลชนะเลิศจาก The Drum Award ในหมวดหมู่ Game-Changing Advertising Technology มาได้อีกด้วย

สามารถดาวน์โหลดรายงาน ภาพรวมการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของประเทศไทย ปี 2564 ฉบับเต็ม เพื่อดูรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://anymindgroup.com/th/news/report/16301

Latest News